3.1.1 เลเยอร์

เลเยอร์
         เลเยอร์ เป็นเหมือนการวางแผ่นใสซ้อนทับกันเป้นลำดับขึ้นมาเรื่อยๆ โดยบริเวณของเลเยอร์ที่ไม่มีรูปจะเห็นทะลุถึงเลเยอร์ด้านล่าง การใช้เลเยอร์ทำให้เราสามารถวาด แก้ไข และปรับแต่งวัตถุบนแต่ละเลเยอร์ได้อย่างอิสระต่อกัน แต่ละเลเยอร์ก็จะมีคุณสมบัติต่างๆเป็นของตัวเอง และการแก้ไขใดๆจะไม่มีผลกระทบกับเลเยอร์อื่นๆ

ส่วนประกอบต่างๆของเลเยอร์
doc04-timeline01

เลเยอร์ และการจัดการเลเยอร์
1 สร้างเลเยอร์
2 แทรกเส้นไกด์
3 สร้างโฟลเดอร์เก็บเลเยอร์
4 ลบเลเยอร์
5  เปลี่ยนชื่อ โดยการดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อแล้วพิมพ์ชื่อใหม่ลงไป
6 เปลี่ยนลำดับ โดยการคลิกดึงเลเยอร์ขึ้นลง
7 ซ่อน/แสดงเลเยอร์
8 ล็อก/ปลดล็อกเลเยอร์
9 ซ่อน/แสดง/เส้นโครงร่าง

การสร้างเลเยอร์
ทำได้หลาย 3 วิธี ได้แก่
 วิธีที่ 1 คลิกที่เมนู Insert >Timeline>layer
layer1

วิธีที่ 2
คลิกขวาที่เลเยอร์ แล้วเลือกคำสั่ง  Insert Layer
layer2

วิธีที่ 3 กดปุ่ม Insert Layer ที่ด้านล่างของไทมไลน์
layer3

การเปลี่ยนชื่อเลเยอร์
เราควรตั้งชื่อเลเยอร์ให้ความหมายตรงกับภาพในเลเยอร์ เพื่อความง่ายในการจำและแก้ไขงานโดยเฉพาะในงานที่มีเลเยอร์จำนวนมาก สามารถเปลี่ยนโดยการดับเบิลคลิกที่เลเยอร์นั้นๆ พิมพ์ชื่อหใม่ แล้วกด enter ได้เลย
later-name

การจัดการเลเยอร์
การเปลี่ยนลำดับเลเยอร์จะทำสิ่งใดๆกับเลเยอร์ เราจะต้องเลือกเลเยอร์นั้นๆก่อนโดยคลิกเลือกที่ชื่อเลเยอร์ หรือช่องเฟรมใดๆในเลเยอร์นั้น จะมีรูป layer5 ข้างชื่อ แสดงว่าเป้นเลเยอร์ที่เรากำลังทำการแก้ไขอยู่ เรียบว่า  Active Layer
later-name2

การเปลี่ยนลำดับเลเยอร์
ในการเรียงลำดับเลเยอร์นั้นสามารถเปลี่ยนลำดับได้โดยการ คลิกลากเลเยอร์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้เลย โดยรูปที่อยู่ในเลเยอร์บนจะทับรูปเลเยอร์ล่าง ดังรูปในตั้วอย่าง
later-name3
จะได้ดังรูป  คือ ต้นไม้ถูกวางอยู่หน้าวัว >วัวอยู่กลาง>เนินดินอยู่ล่างสุด
later-name4

การลบเลเยอร์
การลบเลเยอร์ทำได้ 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1 ให้คลิกขวาที่เลเยอร์นั้นๆ คลิกเลือกคำสั่ง  Delete Layer
layer-delete2
วิธีที่ 2 คลิกที่ชื่อเลเยอร์ที่ต้องการลบ แล้วคลิกรูป  ที่ด้านล่างของไทม์ไลน์
layer-delete

สถานะของเลเยอร์
เลเยอร์มี 3 สถานะ
          1. ซ่อนแสดงเลเยอร์
          การซ่อนเลเยอร์จะมีประโยชน์ในกรณีที่มีชิ้นงานเลเยอร์จำนวนมาก เมื่อเราต้องการซ่อนวัตถุในเลเยอร์นั้นชั่วคราว เพื่อแก้ไขเนื้อหาในเลเยอร์อื่น โดยคลิกที่รูปจุด dot  ในคอลัมน์ eye  จะเปลี่ยนเป็น cross  และเมื่อต้องการเปิดก็คลิกที่ cross อีกครั้ง เนื้อหาก็จะแสดงบนสเตจอีกครั้ง
layer-eye2
จากรูป จะมองไม่เห็นวัตถุที่อยู่ในเลเยอร์วัว

          2. ล็อกเลเยอร์
          เมื่อเราสร้างภาพในเลเยอร์หนึ่งเสร็จแล้ว และไม่ต้องการให้มีการแก้ไขภาพโดยไม่ไม่ตั้งใจ เราสามารถล็อกโดยคลิกที่รูป  dot  ในคอลัมน์ lock  จะเปลี่ยนเป็น cross และเมื่อต้องการปลดล็อกก็คลิกที่ cross อีกครั้ง ก็จะสามารถแก้ไขวัตถุบนเลเยอร์นั้นได้อีกครั้ง
lock2
จากรูป จะไม่สามารถแก้ไขวัตถุที่อยู่ในเลเยอร์วัว
        3. แสดงโครงร่างวัตถุ
ในกรณีที่ภาพในเลเยอร์บนบังภาพที่เราต้องการแก้ไข สามารถกำหนดให้เลเยอร์นั้นแสดงเฉพาะโครงร่างของภาพ เพื่อเราจะได้แก้ไขภาพที่อยู่ใต้เลเยอร์นั้นได้ โดยคลิกที่รูป outline ในคอลัมน์ outline2  จะเปลี่ยนเป็น outline3  และเมื่อต้องการเปิดก็คลิกที่ outline3  อีกครั้ง วัตถุก็จะแสดงบนสเตจอีกครั้ง
outline4

การใช้โฟลเดอร์จัดการเลเยอร์
ถ้าในชิ้นงานมีจำนวนเลเยอร์มาก เราอาจสร้างเลเยอร์โฟลเดอร์ สำหรับเก็บโฟล์เดอร์ให้เป็นหมวดหมู่ได้  เช่น โฟลเดอร์ส่วนประกอบของรถ
วิธีทำ
1. คลิกสร้างlayerFolder2  ที่ด้านล่างของไทม์ไลน์
2. ตั้งชื่อโฟลเดอร์
3. ลากเลเยอร์ที่ต้องการมาเก็บไว้ในเลเยอร์โฟลเดอร์
การปิด/เปิดโฟลเดอร์
เมื่อใดที่เราไม่ได้ใช้เลเยอร์ในโฟลเดอร์ ให้คลิกที่สัญลักษณ์สามเหลี่ยม  เพื่อปิดโฟลเดอร์ และคลิกสามเหลี่ยม อีกครั้งเมื่อต้องการแสดงเลเยอร์ในโฟลเดอร์
layerFolder
ปรับเปลี่ยนมุมมองแสดงเลเยอร์
เราสามารถย่อความสูงของแต่ละแถวของเลเยอร์ได้ โดยคลิกที่ แล้วเลือกขนาดของเฟรมที่ต้องการตามรายละเอียดด้านล่าง ตามภาพ
framesize
โดยขนาดของช่อเฟรมจะเรียงตามขนาดเล็กไปหาขนาดใหญ่ ลองคลิกเลือกดูเองนะครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>

Powered by WordPress | Designed by: credit repair | Thanks to st louis web design, essay writing and fire glass