3.1 ไทม์ไลน์

การสร้างภาพเคลื่อนไหว
           การสร้างภาพเคลื่อนไหวในโปรแกรม  Flash จะคล้ายกับหลักการสร้างภาพยนต์ โดยมีการแบ่งเนื้อหาออกเป็นฉากย่อยๆ ที่เรียกว่าซีน (Scene) ซึ่งแต่ละซีนจะประกอบด้วยภาพนิ่งจำนวนมากที่เรียกว่า เฟรม (Frame) เมื่อนำภาพเหล่านี้ออกมาแสดงอย่างต่อเนื่องก็จะเกิดเป็นภาพเคลื่อนไหว
จะเห็นว่าหลักการก็ไม่ต่างไปจากการวาดรูปในกระดาษที่ต่อเนื่องกัน โดยแต่ละรูปจะเปลี่ยนไปทีละน้อย เมื่อลองนำเอารูปมาเรียงซ้อนกันแล้วรีดกระดาษให้เปิดเร็วๆก็จะเกิดภาพเคลื่อนไหวขึ้นมา
          ในโปรแกรม Flash จะประกอบด้วยภาพที่เรียงต่อกันหลายชั้น เรียกว่า เลเยอร์ (Layer) เหมือนแผ่นใสที่เรียงซ้อนกัน เช่น ภาพพื้นหลังและตัวละครจะแยกออกจากกัน เมื่อนำมาเรียงซ้อนกันก็จะเห็นเป็นองค์ประกอบทั้งหมดที่เป็นชิ้นงาน

ไทม์ไลน์
เป็นส่วนที่ใช้ในการควมคุมการแสดงภาพเคลื่อนไหว ซิึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เลเยอร์และเฟรม ดังรูป
frame
หัวอ่าน (Play head)
ในการแสดงภาพเคลื่อนไหว โปรแกรม  Flash จะแสดงภาพในแต่ละเฟรมอย่างรวดเร็วโดยหัวอ่านจะชี้อยู่ที่เฟรมที่กำลังแสดงอยู่บนสเตจ ในขณะสร้างชิ้นงานเราสามารถคลิกเลื่อนหัวอ่านไปมา เพื่อดูเฟรมที่ต้องการแก้ไขได้

เลเยอร์  (Layer)
          เลเยอร์ เป็นเหมือนการวางแผ่นใสซ้อนทับกันเป้นลำดับขึ้นมาเรื่อยๆ โดยบริเวณของเลเยอร์ที่ไม่มีรูปจะเห็นทะลุถึงเลเยอร์ด้านล่าง การใช้เลเยอร์ทำให้เราสามารถวาด แก้ไข และปรับแต่งวัตถุบนแต่ละเลเยอร์ได้อย่างอิสระต่อกัน แต่ละเลเยอร์ก็จะมีคุณสมบัติต่างๆเป็นของตัวเอง และการแก้ไขใดๆจะไม่มีผลกระทบกับเลเยอร์อื่นๆ
เฟรม
 (Frame)
คือช่องที่แสดงภาพเคลื่อนไหวในแต่ละช่วงเวลา เมื่อนำมาแสดงตามลำดับอย่างรวดเร็วจะทำให้เกิดภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเฟรมที่ถูกแสดงคือเฟรมที่หัวอ่านชี้อยู่

Powered by WordPress | Designed by: credit repair | Thanks to st louis web design, essay writing and fire glass