1.2 เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Flash
ก่อนอื่นเราต้องรูปจักชนิดของไฟล์ Flash ไฟล์ชิ้นงานของ Flash ไฟล์ที่เกิดจากโปรแกรม Flash จะมีด้วยกันอยู่ 2 ชนิดคือ
1. ไฟล์ Flash (.fla)

เป็นไฟล์หลักที่ถูกสร้างขึ้นในโปรแกรม Flash และต้องเปิดใช้หรือแก้ไขด้วยโปรแกรม Flash เท่านั้น ไม่สามารถเปิดในโปรแกรมอื่นหรือเว็บบราวเซอร์ได้
2. ไฟล์ Flash movie (.swf)

เป็นไฟล์ Flash (.fla) ที่ถูกบีบอัดเพื่อนำไปใช้แสดงผลบนเว็บบราวเซอร์ ซึ่งสามารถดูผลในโปรแกรมอื่นได้ แต่ไฟล์ชนิดนี้จะไม่สามารถกลับไปแก้ไขในโปรแกรม Flash ได้อีก
การบันทึก File ใหม่
- เลือกคำสั่ง File แล้วเลือก Save
- เลือก Folder ที่ต้องการจัดเก็บ
- ตั้งชื่อไฟล์ในช่อง File Name
- เลือกรูปแบบหรือสกุลของไฟล์ในช่อง Save as type นามสกุลที่ใช้คือ .swf และ .fla
- คลิกปุ่ม Save
การปิด File
- เลือกคำสั่ง File แล้วเลือก Close หรือ คลิกปุ่มกากบาทที่มุมขวาบนของวินโดว์รูปภาพ หรือกดคีย์ Ctrl+W
- หากไฟล์ที่เปิดอยู่นั้นมีการแก้ไขให้คลิก Yes เพื่อบันทึก หรือคลิก No ถ้าไม่ต้องการบันทึก
การเปิด File ที่มีอยู่แล้วขึ้นมาใช้งาน
- เลือกคำสั่ง File แล้วเลือก Open
- เลือก Folder ที่เก็บไฟล์จากช่อง Look in
- คลิกเลือกชื่อไฟล์จากรายการหรือป้อนชื่อลงใน File name
- เลือกประเภทไฟล์ในช่อง Files of type นามสกุล .swf หรือ .fla
- คลิกปุ่ม Open
2. คุณสมบัติของเอกสาร
- การเริ่มใช้งาน Macromedia Flash mx โดยการกำหนดขนาดพื้นที่ทำงานในโปรแกรม
- หลังจากเปิด Macromedia Flash mx แล้วให้คลิกที่ Modify > Document หรือกดปุ่ม Ctrl+J

- จะเกิดกรอบ Document properties ดังรูปภาพ

-
อธิบายกรอบ Document properties
- Dimensions คือการกำหนดขนาดพื้นที่ของการสร้าง งานที่ต้องการ
- Width คือ การกำหนดขนาดความกว้างของพื้นที่การใช้งาน
- Height คือ การกำหนดขนาดความสูงของพื้นที่การใช้งาน
จอภาพปกติอัตราส่วน 3:4 เช่น 300:400 , 600:800, 768:1024
- Match คือการกำหนดเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ของงานให้สอดคล้องของงานที่จัดทำ
- Printer กำหนดเพื่อให้สอดคล้องกับ printer
- Contents กาหนดเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่นอก Stage
- Default กำหนดเพื่อให้เป็นค่ามาตรฐาน
- Background Color คือการกำหนดสีพื้นของ Stage ปกติเป็นสีขาว
- Frame Rate คืออัตราความเร็วของการแสดงของ Movie มีหน่วยเป็นเฟรมต่อนาที ( fps) โดยทั่วไปโปรแกรมจะกำหนดมาตรฐานคือ 12 เฟรมต่อนาที ในที่นี้ให้ตั้งเป็น 25 เฟรมต่อนาที
- Ruler Unit คือ หน่วยที่ใช้ในการกำหนดขนาดพื้นที่ทำงานได้แก่ Pixel ,Percent,Centimeters,Millimeters,Point,Inches
- Make default คือ กำหนดค่าที่ตั้งเป้นค่ามาตรฐาน
- คลิก OK
3. เครื่องมือช่วยกะระยะการวางวัตถุ Ruler, Grid, Guides ใน Flash
Ruler, Grid, Guidesเครื่องมือช่วยกำหนดขอบเขต และวางตำแหน่งการสร้างกราฟิกบน Stage โดย
- Ruler แถบไม้บรรทัดจะปรากฏที่ขอบด้านซ้าย และด้านบนของ Stage สามารถเปิด/ปิดได้จากคำสั่ง View, Rulers
- Grid มีลักษณะเป็นตารางตาหมากรุก ที่แบ่งเป็นช่องเล็ก ช่วยในการกำหนดตำแหน่งในการสร้าง ย่อ/ขยาย หรือเคลื่อนย้ายวัตถุบน Stage สามารถเปิด/ปิดได้จากคำสั่ง View, Grids, Show Grids
วิธีปรับตั้งค่า Grid ให้คลิกที่ View > Grid > Edit Grid

จะได้ดังรูป

โดยปกติขนาดของช่องตารางจะมีค่าเท่ากับ 18 × 18 pixels ซึ่งปรับแต่งได้จากคำสั่ง View,Grids, Edit Grid…
Guide มีลักษณะเป็นเส้นตรงที่ผู้ใช้สามารถกำหนดตำแหน่ง เพื่อช่วยในการกะระยะต่างๆช่วยในการวาดภาพ เคลื่อนย้ายตำแหน่งลักษณะเดียวกับกริด แต่มีความอิสระมากกว่า โดยการทำงานจะต้องอยู่ในสภาวะการเปิดใช้งาน Ruler ก่อนเสมอ จากนั้นนำเมาส์ไปชี้ในแถบไม้บรรทัด(ด้านใดก็ได้) กดปุ่มเมาส์ค้างไว้ เมื่อลากเมาส์จะปรากฏเส้นตรงสีเขียววาง ณ ตำแหน่งที่ปล่อยเมาส์การปรับย้ายตำแหน่งเส้นไกด์
คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับแถบไม้บรรทัด, Grids และไกด์ คือคำสั่ง Snap to… ซึ่งมีหลายคำสั่งเช่น
- Snap to Grids ช่วยให้การวาด/สร้างวัตถุ, การย่อขยาย หรือย้ายตำแหน่งอิเส้นกริดที่กำหนดไว้
- Snap to Guides ช่วยให้การวาด/สร้างวัตถุ, การย่อขยาย หรือย้ายตำแหน่งอิงเส้นไกด์ที่กำหนดไว้
- Snap to Objects ช่วยให้การวาด/สร้างวัตถุ, การย่อขยาย หรือย้ายตำแหน่งอิงจุดกึ่งกลาง (Center Point) ของวัตถุ
Leave a Reply