1.1 ความเป็นมาของ Animation

ที่มาของ Animation
แอนิเมชัน (animation นิยมอ่านในภาษาไทยว่า แอ-นิ-เม-ชั่น) หมายถึง การสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการฉายภาพนิ่งหลายๆ ภาพต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูง

Animation เบื้องต้น

Animation คือ การสร้างภาพเคลื่อนไหว โดยการนำภาพนิ่งหลายๆภาพที่มีความต่อเนื่อง  มาฉายด้วยความเร็วที่เหมาะสม ทำให้เกิดภาพลวงตาของการเคลื่อนไหว

ทำไมภาพถึงเคลื่อนไหว?

ที่เราเห็นภาพเคลื่อนไหวนั้น เป็นเพราะว่า มนุษย์เรามีการจำการรู้สึกสัมผัส (Sensory Memory) การจำชนิดนี้เป็นการเก็บข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาตามที่ประสาทสัมผัสรับรู้จากสิ่งเร้าและจะเลือนหายไปอย่างรวดเร็ว เช่น การดูภาพยนตร์ซึ่งภาพแต่ละภาพจะยังคงติดตาอยู่เพียง 1 ต่อ 10 วินาทีเท่านั้น  ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า Persistence of Vision หรือเรียกว่า การจำภาพติดตา (Iconic Memory)

โดยปกติความเร็วของแอนิเมชันจะฉายด้วยความเร็วที่ต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของการแสดงผล(out put) โดยถ้าฉายเป็นภาพยนตร์จะฉายด้วยความเร็ว 24เฟรมต่อวินาที ถ้าถ่ายทอดในระบบ PAL จะวิ่งด้วยความเร็ว 25 เฟรมต่อวินาที แต่ในระบบ NTSC ในอเมริกาและญี่ปุ่นจะวิ่งด้วยความเร็ว 29.97 หรือ 30 เฟรมต่อวินาที

ประเภทของ Anaimation มี 2 ประเภท คือ

1.  2D Animation คือ ภาพเคลื่อนไหวแบบ 2 มิติ มองเห็นทั้งความสูงและความกว้าง  ซึ่งจะมีความเหมือนจริงพอสมควร และในการสร้างจะไม่สลับซับซ้อนมากนักตัวอย่างเช่น  การ์ตูนที่เรื่อง One Piece  โดเรมอน หรือ ภาพเคลื่อนไหวที่ปรากฏตามเว็บต่างๆ รวมทั้ง Gif Animation

ตัวอย่างภาพยนตร์ 2 มิติ

ดราก้อนบอลแซด – การคืนชีพของ F | Spot Trailer (2015)


2.  3D Animation คือ ภาพเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ มองเห็นทั้งความสูงความกว้าง และความลึก  ภาพที่เห็นจะมีความสมจริงมากถึงมากที่สุด(ก็สุดแล้วแต่จะโชว์พาว) เช่น  ภาพยนตร์เรื่อง Toy Story  NEMO เป็นต้น

ตัวอย่างภาพยนตร์ 3 มิติ

 STAND BY ME DORAEMON Trailer

ขอขอบคุณแหล่งที่มา
http://202.143.132.2/e-learning/digital/tech04/27/Animation/link/principle.htm
Powered by WordPress | Designed by: credit repair | Thanks to st louis web design, essay writing and fire glass